กฏหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในไทย

บุหรี่ไฟฟ้า

ว่ากันด้วยเรื่องของ “บุหรี่” นั้น เรียกได้ว่าเป็นความชอบของใครหลายๆ คนที่มาพร้อมกับอันตรายที่ส่งผลต่อทั้งคนสูบและคนรอบข้าง จึงทำให้มีการพัฒนาอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยให้มีความปลอดภัยมากขึ้น สำหรับการสูบบุหรี่ ซึ่งนั้นก็คือ “บุหรี่ไฟฟ้า” ที่กำลังมาแรง แต่ในวันนี้อาจยังไม่มีการรับรองและไม่ได้รับการยอมรับ วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “กฏหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในไทย” ที่ควรรู้กันครับ

3 ข้อกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในไทยที่ควรรู้

1. กรณีผู้ขายหรือผู้ให้บริการบุหรี่ไฟฟ้า คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้มีคำสั่งที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” ซึ่งมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหลายชนิด รวมทั้งโลหะหนักที่เป็นสารก่อมะเร็ง และมีปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจส่งผลกระทบเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น ผู้ใดขายหรือให้บริการ โดยมีค่าตอบแทนรวมถึงการซื้อมาเพื่อขายต่อ มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. กรณีผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า มีความผิดตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่ และบารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ กับให้ริบบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งสิ่งที่ใช้บรรจุและพาหนะใดๆ ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าบุหรี่ไฟฟ้านั้นด้ว นอกจากนั้นยังเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 244 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอาจสั่งริบของนั้นก็ได้ ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษา หรือไม่

3. บุหรี่ไฟฟ้า อันเป็นสินค้าห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนั้น ผู้ครอบครองหรือรับฝากไว้ จะมีความผิดฐาน ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง ตามมาตรา 246 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2564 ทั้งนี้ เมื่อบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้าม แม้จะไม่มีเจตนาหรือไม่รู้ว่าเป็นของมีความผิด ก็ต้องถูกริบให้ตกเป็นของแผ่นดินและนำไปทำลายตามกฎหมายของศุลกากร

ความแตกต่างระหว่างบุหรี่ธรรมดากับบุหรี่ไฟฟ้านั้นมีอะไรบ้าง?

เมื่อเทียบกันแล้ว บุหรี่ไฟฟ้าจะมีความปลอดภัยกว่าบุหรี่ปกติถึง 95% ซึ่งมีผลวิจัยมาจาก หน่วยงานด้านสาธารณสุขของอังกฤษ เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีกระบวนการเผาไหม้ จึงไม่ทำให้เกิดสารทาร์ (Tar) ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เป็นมะเร็งปอด นอกจากนี้วิธีการสูบของบุหรี่ทั้งสองแตกต่างกันโดยสิ้นเชือง ยกตัวอย่างเช่น บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีสารที่ก่อให้เกิดการเผาไหม้ มีกลิ่นให้เลือกหลากหลาย ไม่มีกลิ่นควันอันตราย เป็นต้น จึงทำให้คนรุ่นหลังเลือกที่จะสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทนแถมราคายังถูกกว่าบุหรี่ธรรมดาในระยะบาวอีกด้วยครับ

ข้อดีและข้อเสียของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

ข้อดี

– ไม่มีกลิ่นที่เป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่น เป็นข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการสูบบุหรี่ไฟฟ้าพอทคือคุณและคนบริเวณใกล้เคียงของคุณจะไม่มีกลิ่นควันติดตัว โดยการสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นจะมีกลิ่นหอมจากรสชาติของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าที่คุณใช้ แต่ไม่ใช่กลิ่นควันจากใบยาสูบ

– มีปริมาณไอระเหยหรือควันที่น้อย คือ สามารถควบคุมปริมาณไอน้ำหรือควันที่คุณพ่นออกมได้

ข้อเสีย

– ในน้ำยามีสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่พบในน้ำยาสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

– โพรไพลีนไกลคอล เมื่อสัมผัสหรือสูดดมเข้าไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ดวงตา และปอดได้ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคเรื้องรัง

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “กฏหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในไทย” ที่เราได้รวบรวมมมาฝากท่านผู้อ่านกันในบทความข้างต้น คิดว่าน่าจะเป็นความรู้ที่ควรตระหนักถึงและระวังในการใช้งานกันนะครับ

Back To Top