Category: Education

การส่งเสริมพัฒนาทักษะเด็กในช่วงวัยก่อนเรียน

การส่งเสริมให้พัฒนาทักษะและการศึกษาในแต่ละช่วงวัยนั้นสำคัญมาก พ่อและแม่ต้องใส่ใจเด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้พวกเขาเกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เนื้อหาและสื่อที่นำมาสอนก็ควรเหมาะกับช่วงวัย โจทย์จะได้ไม่ง่ายหรือไม่ยากจนเกินไปสำหรับพวกเขา จะได้กระตุ้นความคิดของพวกเขาทีละเล็กทีละน้อย ทำให้ไม่ส่งผลต่อเด็กจนเกิดความเครียด พ่อและแม่จึงควรเลือกกิจกรรมในการสอนลูกอย่างระมัดระวัง เรื่องนี้อาจปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือคุณครู เพราะพวกเขามีวิธีการดีที่จะช่วยแนะนำและไกด์คุณให้เข้าใจลูกๆของคุณได้มากขึ้น การส่งเสริมและพัฒนาทักษะเด็กวัยก่อนเรียนไม่ได้มีแค่การพัฒนาด้านสมอง แต่ยังมีด้านร่างกาย สังคมและอารมณ์ รวมถึงภาษา ซึ่งในแต่ละวัยจะมีลักษณะการฝึกที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ เด็กอายุ 1.5 ขวบ เด็กวัยนี้จะเป็นวัยหัดเดิน เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย การทรงตัว การเรียนรู้ สิ่งที่ควรจะส่งเสริมพัฒนาการ ยกตัวอย่างเช่น อ่านนิทาน หาอุปกรณ์การเล่นที่ช่วยในการขยับนิ้ว แขน ขา เช่น ลูกบอลนิ่ม หรืออุปกรณ์ที่ช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์อย่าง เลโก้ จิ๊กซอว์ เป็นต้น เด็กอายุ 2 ขวบ เด็กวัยนี้ควรส่งเสริมทักษะ ให้เด็กมีส่วนร่วมในการช่วยงานครอบครัว ให้เด็กลองใช้อุปกรณ์เลียนแบบของจริงของผู้ใหญ่ หลีกเลี่ยงการดูทีวี และการใช้โทรศัพท์ รวมไปถึงจนถึงสอนภาษาเขาโดยใช้ภาพประกอบ เด็กวัย 3 ขวบ เด็กวัยนี้จะชอบสมมติจินตนาการ หรือสมมติบทบาท ดังนั้นในช่วงวัยนี้พ่อแม่ควรรับฟังเขาให้มากๆ เพื่อช่วยชี้แจง และแนะนำเขาในทางที่ถูกต้อง และกระตุ้นให้พวกเขาทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้โดยการตอบคำถามที่เขาสงสัย […]

Active learning ระบบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

รู้หรือไม่ในอดีตรูปแบบการเรียนของไทยนั้นมีลักษณะเป็น Passive Learning? ซึ่ง Passive Learning เป็นการเรียนแบบท่องจำ ฟังบรรยาย ซึ่งเห็นได้ทั่วไปตามห้องเรียนของโรงเรียน ในขณะที่ Active Learning เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนแสวงหาด้วยตัวเอง เกิดการตั้งคำถาม ค้นหาทางแก้ปัญหา และสร้างสรรค์สิ่งต่างๆออกมา ฟังแล้วคล้ายการทำวิจัยชอบกล แต่นั่นแหละมันคือ Active Learning ซึ่งมีโรงเรียนในต่างจังหวัดน้อยนักที่จะมีกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว ในช่วงหลายปีผ่านมานี้หลายๆ โรงเรียนก็เริ่มปรับเปลี่ยนจากการสั่งการบ้านให้จดตามหนังสือเป็นการคิดโปรเจคหรืองานสร้างสรรค์ เพื่อให้เด็กได้ฝึกประยุกต์กระบวนคิดในการแก้ปัญหา โดยการให้โจทย์ปัญหาแก่เด็กๆ ช่วยกันแก้ โดยให้พวกเขาร่วมกันแก้ และระดมความคิดช่วยกัน การเรียนในลักษณะนี้จะเป็นการกระตุ้นให้เด็กๆฝึกใช้สมอง และเพลิดเพลินกับการเรียนมากขึ้น การเรียนแบบ Active Learning เป็นการเรียนแบบลงมือปฏิบัติ นอกจากจะช่วยส่งเสริมกระบวนการคิดของเด็กๆแล้ว ยังช่วยฝึกให้เด็กๆกล้าแสดงออก กล้าออกความเห็น เมื่อเกิดการโต้ตอบระหว่างครูและนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อสรุป พวกเขาจะเกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Constructivist) ด้วยตนเอง ซึ่งรูปแบบหรือเทคนิคในการจัดการเรียนแบบ Active Learning นั้นมีหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ซึ่งทางครูผู้สอนอาจจัดเป็นฐานกิจกรรมแยกตามรายวิชาต่างๆ หรือหากเป็นการสอนในห้องเรียน ครูผู้สอนอาจแยกฐานการเรียนรู้ตามหัวข้อที่เรียน อาจเป็นการมอบหมายหัวข้อให้นักเรียนทำหรือครูจัดขึ้นมาเองเพื่อให้พวกเขาไม่เบื่อหน่ายในการเรียน หนำซ้ำยังสนุกเพลิดเพลิน และได้ความรู้อีกด้วย การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ครูอาจจัดกิจกรรมพานักเรียนทัศนะศึกษานอกสถานที่ […]

แบ่งเวลาศึกษาเรียนรู้อย่างไรให้ชีวิต Balance!

เวลาเป็นสิ่งมีค่าที่ไม่สามารถหาซื้อไม่ได้จากที่ไหนบนโลก และทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่วิธีการจัดสรรเวลาให้มีประสิทธิภาพของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน บางคนจัดการเวลาได้ดี ในแต่ละวันก็จะสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง ขณะที่บางคนจัดการเวลาได้ไม่ดี พวกเขาก็จะเสียเวลาอันมีค่าไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะการที่เขาเสียเวลาอันมีค่านั้นไป เท่ากับว่าเขาเสียเวลาในการพัฒนาตัวเองไปด้วย อีกทั้ง ยังช่วยให้คุณไปถึงเป้าหมายที่หมายมาดไว้ ซึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณมีเวลาว่างในการจัดสรรเวลาและเรียนรู้ชีวิตในทุกด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ Eisenhower Matrix เป็นตารางช่วยจัดลำดับความสำคัญ ตารางแบ่งออกเป็น 4 ช่อง แนวตั้งได้แก่ ความสำคัญ และไม่สำคัญ ส่วนแนวนอนได้แก่ เร่งด่วน และไม่เร่งด่วน ซึ่งสามารถจำแนกงานออกเป็น 4 กรณี ดังนี้ เรื่องสำคัญและเร่งด่วนควรทำทันที ยกตัวอย่างเช่น การประชุม ออเดอร์ลูกค้า การทำธุรกรรม การบ้านที่ต้องส่งพรุ่งนี้ เป็นต้น สำคัญแต่ไม่เร่งด่วนควรวางแผน ยกตัวอย่างเช่น การสอบในอีกสามเดือนข้างหน้า คุณต้องวางแผนการอ่านหนังสือหรือจัดตารางอ่านหนังสือเพื่อให้คุณมีเวลาในการเตรียมตัวก่อนสอบจริง เป็นต้น ไม่สำคัญแต่เร่งด่วนควรกระจายงาน ยกตัวอย่างเช่น สายเรียกเข้าจากโทรศัพท์ การเซ็นต์รับของ ซึ่งหากทุกสิ่งพุ่งเข้าหาคุณในขณะที่คุณกำลังยุ่งหัวฟูพร้อมกันทีเดียว ถ้ามันเป็นเรื่องไม่สำคัญ คุณก็ควรจะกระจายงานให้ลูกน้องของคุณทำ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องแบกภาระมากจนเกินไป ไม่สำคัญไม่เร่งด่วนควรลดทำ ยกตัวอย่าง การเล่นสื่อโซเชียล การเล่นเกม เป็นต้น […]

Back To Top