การส่งเสริมพัฒนาทักษะเด็กในช่วงวัยก่อนเรียน

การพัฒนาทักษะเด็กในช่วงวัยก่อนเรียน

การส่งเสริมให้พัฒนาทักษะและการศึกษาในแต่ละช่วงวัยนั้นสำคัญมาก พ่อและแม่ต้องใส่ใจเด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้พวกเขาเกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม เนื้อหาและสื่อที่นำมาสอนก็ควรเหมาะกับช่วงวัย โจทย์จะได้ไม่ง่ายหรือไม่ยากจนเกินไปสำหรับพวกเขา จะได้กระตุ้นความคิดของพวกเขาทีละเล็กทีละน้อย ทำให้ไม่ส่งผลต่อเด็กจนเกิดความเครียด

พ่อและแม่จึงควรเลือกกิจกรรมในการสอนลูกอย่างระมัดระวัง เรื่องนี้อาจปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือคุณครู เพราะพวกเขามีวิธีการดีที่จะช่วยแนะนำและไกด์คุณให้เข้าใจลูกๆของคุณได้มากขึ้น

การส่งเสริมและพัฒนาทักษะเด็กวัยก่อนเรียนไม่ได้มีแค่การพัฒนาด้านสมอง แต่ยังมีด้านร่างกาย สังคมและอารมณ์ รวมถึงภาษา ซึ่งในแต่ละวัยจะมีลักษณะการฝึกที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  1. เด็กอายุ 1.5 ขวบ เด็กวัยนี้จะเป็นวัยหัดเดิน เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย การทรงตัว การเรียนรู้ สิ่งที่ควรจะส่งเสริมพัฒนาการ ยกตัวอย่างเช่น อ่านนิทาน หาอุปกรณ์การเล่นที่ช่วยในการขยับนิ้ว แขน ขา เช่น ลูกบอลนิ่ม หรืออุปกรณ์ที่ช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์อย่าง เลโก้ จิ๊กซอว์ เป็นต้น
  2. เด็กอายุ 2 ขวบ เด็กวัยนี้ควรส่งเสริมทักษะ ให้เด็กมีส่วนร่วมในการช่วยงานครอบครัว ให้เด็กลองใช้อุปกรณ์เลียนแบบของจริงของผู้ใหญ่ หลีกเลี่ยงการดูทีวี และการใช้โทรศัพท์ รวมไปถึงจนถึงสอนภาษาเขาโดยใช้ภาพประกอบ
  3. เด็กวัย 3 ขวบ เด็กวัยนี้จะชอบสมมติจินตนาการ หรือสมมติบทบาท ดังนั้นในช่วงวัยนี้พ่อแม่ควรรับฟังเขาให้มากๆ เพื่อช่วยชี้แจง และแนะนำเขาในทางที่ถูกต้อง และกระตุ้นให้พวกเขาทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้โดยการตอบคำถามที่เขาสงสัย เป็นต้น
  4. เด็กวัย 4 ขวบ ควรให้คำแนะนำและปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างให้เด็กดูถึงกฎการเล่นกีฬา หากคุณพาเขาไปเล่นกีฬาที่เด็กวัยเขาสามารถเล่นด้วยได้ สนับสนุนให้เด็กแบ่งปันสิ่งของกับเพื่อน และพาเด็กๆไปทำกิจกรรมนอกบ้านหรือสุดสัปดาห์ เป็นต้น
  5. เด็กวัย 5 ขวบ ควรสนับสนุนให้เขาเล่นกับเพื่อนๆให้มากเพื่อพัฒนาการเข้าสังคม หากิจกรรมที่สร้างสรรค์มาเล่นกับเขา และตอบคำถามที่เขาสงสัยอย่างใจเย็น เพราะเด็กวัยนี้เป็นวัยช่างถาม เป็นต้น

จากที่กล่าวมาข้างคนนอกจากทักษะเหล่านั้น คุณยังสามารถเพิ่มทักษะอื่นๆที่น่าสนใจสอนเขาได้ ตามแต่คุณจะเห็นควรว่าเหมาะสม เพราะการเลี้ยงเด็กคนหนึ่ง ไม่สามารถเลี้ยงเหมือนกันได้ พวกเขาทุกคนเกิดมามีความคิดแตกต่างกัน ดังนั้น การเลี้ยงดูจึงควรจะขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยของเด็กด้วย!

Back To Top